กฎหมายใหม่…ไวรัสโคโรนา


เล่ากฎหมายใหม่…#ไวรัสโคโรนา
โดย : แอดมิน 4 มีนาคม 2562

เมื่อวานนี้มีประกาศเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ออกมา 2 ฉบับ

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา และการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
.
.
มีผลอะไรยังไง..ตามไปอ่านกัน
———————

ฉบับแรก…
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

ประกาศฉบับนี้…ออกมาได้โดยอาศัย มาตรา 33/1 ใน พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ซึ่งกล่าวว่า….

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่ง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามมาตรา 36

สรุปตรงนี้ว่า…ประกาศนี้..กำหนดให้ไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตรายที่ต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน

ส่วนจะรักษายังไง ตามต่อที่มาตรา 36 ของ พรบ.เดียวกันนี้

———————
ฉบับที่ 2
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา และการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น

ประกาศนี้ ออกตามมาตรา 36 วรรค 3 และวรรค 4 ใน พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559

#โดยสรุป…จะบอกว่าเมื่อเป็นโรคติดต่ออันตรายโคโรน่า 2019 นี้แล้ว…สถานพยาบาลจะรักษา​ดูแลช่วยเหลือหรือส่งต่อผู้ป่วยอย่างไร..ซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวด คือ
หมวด 1 การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย
หมวด 2 การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยา
หมวด 3 การจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
(รายละเอียดแต่ละหมวดอ่านเองได้เลยมันเยอะ)


ส่วนค่าใช้จ่าย…โน่นนั่นนี่ (จะเข้าข่ายมาตรา 36 วรรค 5)
ซึ่งมีประกาศออกมานานแล้วตั้งแต่ปี 2560 คือ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
https://www.nhso.go.th/files/userfiles/…/2017/004/UCEP01.PDF

++++++++++++++++++++++++ 
อ้างอิง มาตรา 33/1
มาตรานี้ถูกเขียนขึ้นใหม่ กำหนดให้สถานพยาบาลต้องเข้าระบบเบิกค่าบริการฉุกเฉิน (EMCO) ปฏิเสธการรักษาพยาบาลไม่ได้ (ปกติก็ไม่ปฏิเสธอยู่แล้วด้วยจรรยาบรรณ) แต่ส่วนใหญ่จะติดเรื่องเบิกจ่ายเงิน ซึ่ีงแนวทางหรือวิธีการก็ยังไม่ชัดตอนออกกฎหมายมาใหม่ ๆ ไม่รู้จะเก็บใคร อัตราเท่าไร ฉุกเฉินขนาดไหน..สุดท้ายก็มาเก็บผู้ป่วย แต่ตอนนี้ต้องเก็บผ่าน EMCO และปัจจุบันพัฒนาเป็น UCEP) ซึ่งน่าจะกระทบ รพ. เอกชน

อ้างอิง มาตรา 36
(วรรค 1) ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา 33/1 ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้น ๆ

(วรรค 2) เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาหรือดําเนินการตามความเหมาะสมและความจําเป็น

(วรรค 3) การดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

(วรรค 4) เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ามีความจําเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

(วรรค 5) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541