ควบคุมอันตรายและความเสี่ยงอย่างไรให้ได้ผล

การควบคุมอันตรายที่ได้ผลดีที่สุด >> ได้ผลน้อยที่สุด หรือที่เรียกว่า ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls) ทำได้โดย…. Read More


ควบคุมอันตรายและความเสี่ยงอย่างไรให้ได้ผล
_____________________________________

[สำหรับผู้มีเวลาน้อย..อ่านสรุป]
การควบคุมอันตรายที่ได้ผลดีที่สุด >> ได้ผลน้อยที่สุด หรือที่เรียกว่า..ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls) ทำได้โดย

๏ การขจัด/กำจัด (Elimination)
๏ การแทนที่ (Substitution)
๏ การควบคุมด้านวิศวกรรม (Engineering Controls)
๏ การควบคุมด้านบริหารจัดการ (Administrative Controls)

และสุดท้ายคือ..
๏ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)


“ความปลอดภัย คืออะไร”
“ใส่อุปกรณ์เซฟตี้ครับ”..
“อบรมครับ”..
“เซฟตี้ทอร์คครับ”

จากประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยาย เมื่อถามผู้เข้าฝึกอบรมว่า “ความปลอดภัยคืออะไร” หรือ “เมื่อพูดถึงความปลอดภัย-พวกเรานึกถึงอะไร” 
.
คำตอบทั้งหมดข้างต้น คือ สิ่งที่ได้ยินเสมอ โดยเฉพาะจากคนงานที่ทำงานอยู่หน้างาน..

แต่ก็มีเหมือนกัน ที่เมื่อถามระดับเจ้าของกิจการ ผู้จัดการ หรือหัวหน้างานผู้รับเหมารายย่อย SME หลายคน ก็ตอบว่า..”ความปลอดภัย” คือ การสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ (PPE)
.
ถามว่า ผิดไหม.. ที่จะเข้าใจอย่างนั้น
คำตอบ คือ ไม่ผิด…แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ
.
แล้วถ้าถามต่อว่า…
ทำยังไงล่ะ จึงจะทำให้คนงานปลอดภัย
ทำยังไง เราจะควบคุมอันตรายและความเสี่ยงได้ล่ะ
.
.
บทความนี้เลยหยิบเอา หลักการการควบคุมอันตรายและความเสี่ยงมาแชร์ มาทบทวนกัน..

_____

หัวใจของการควบคุมอันตรายและความเสี่ยงคือ เราต้องบอกให้ได้ว่า ในสถานประกอบกิจการ ในโรงงาน ในบริษัทของเรา อะไรคือความเสี่ยง อะไรคือสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตราย เกิดอุบัติเหตุ ในที่ทำงาน……
.
Top 3 hazard/risk ในที่ทำงานของเรา..คืออะไร?
ลองหยุดอ่าน และหันไปถามเพื่อนพนักงานสักคนดูครับ…ว่าตอบเหมือนกันมั้ยย?
.
.
.
.
การจะได้คำตอบนี้ สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ HIRA (Hazard Identification and Risk
Assessement) การชี้บ่งและประเมินความเสี่ยง นั่นเอง

#####ทบทวน#####
หลักบริหารจัดการความเสี่ยง Risk Management
1. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
▪ การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)
▪ ชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification)
▪ ประมาณความเสี่ยง (Risk Estimation)
▪ ประเมินค่าความเสี่ยง (Risk Evaluation)
2. การลดความเสี่ยง (Risk Reduction)
▪ ขจัดอันตรายหรือป้องกันความเสี่ยง (Eliminate the hazard or Prevent the risk)
▪ หามาตรการควบคุม (Control Measures)
3. การพิจารณาเลือกใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม (Deciding on Control Measures)
4. การนำมาตรการควบคุมไปปฏิบัติ (Implementing Control Measures)
5. การติดตามและทบทวนประสิทธิผลของมาตรการควบคุม (Monitoring and
Reviewing Effectiveness of Control Measures)
6. การเก็บบันทึกข้อมูล (Documentation and Records)
#########

บทความจะกล่าวถึงเพียง หลักการป้องกันและควบคุมอันตราย (Hazard Prevention and Control) โดยที่ทั่วโลกใช้อยู่ จะมีความคล้ายกันบนพื้นฐานของประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง
ไล่เรียงลำดับ..
.
จากได้ผลดีที่สุด >>>> ได้ผลน้อยที่สุด เรียก..#ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of controls) ดังนี้

๏ การขจัด/กำจัด (Elimination)
๏ การแทนที่ (Substitution)
๏ การควบคุมด้านวิศวกรรม (Engineering Controls)
๏ การควบคุมด้านบริหารจัดการ (Administrative Controls)

และสุดท้ายคือ..
๏ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

#ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (The hierarchy of control measures)
มีรายละเอียด ดังนี้ คือ

¤ การขจัด (Elimination) เป็นการนำเอา ความเสี่ยง ออกไป หรือ ไม่นำเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าทำได้

¤ การแทนที่ (Substitution) เป็นการปรับเปลี่ยนวัสดุ กระบวนการทำงาน หรืออุปกรณ์เครื่องจักร ด้วยสิ่งที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น เปลี่ยนสารเคมีแทนสารเดิมที่มีผลต่อร่างกายคนงาน, เปลี่ยนพัดลมจากแบบตั้งพื้นที่ล้มได้หรือเฉี่ยวชนได้ไปใช้พัดลมแบบติดผนังหรือเพดาน หรือ ใช้กระบวนการขึ้นรูปพลาสติกแทนการปั๊มชิ้นส่วนจากแม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น

¤ วิธีทางวิศวกรรม (Engineering) โดยการออกแบบหรือปรับปรุงโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการทำงาน เพื่อลดอันตรายจากแหล่งอันตราย เช่น
– การติดตั้งระบบระบายอากาศ (Exhaust Ventilation System) เพื่อนำฟูมอันตรายออกไป
– การออกแบบเพื่อติดตั้งปุ่มกดฉุกเฉิน (Emergency Stop Buttons)
– การปิดกั้นแหล่งอันตรายกับตัวผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
(บางตำรารวมเอา Isolation ไว้ด้วยกันกับ engineering)

¤ การบริหารจัดการ (Administration) ใช้การจัดการมาช่วยบริหารการทำงาน
เพื่อช่วยเสริมมาตรการต่าง ๆ ให้ปลอดภัยขึ้น เช่น
– กำหนดช่วงเวลา หรือจำนวนชั่วโมงในการทำงานที่มีความเสี่ยง
– กำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ
– การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงอันตรายและความเสี่ยง
– มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัย เป็นต้น

¤ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) คือ แต่งกาย ใช้อุปกรณ์ หรือวัตถุใด ๆ เพื่อปกป้องส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของร่างกายจากความเสี่ยงที่จะได้รับจากงานที่ทำอยู่ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ๆ

_____

ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราบอกคนงาน..ให้หยิบ อุปกรณ์เซฟตี้มาสวมใส่ นั่นคือ เราได้ใช้หลักการข้างต้นไป 1 ข้อแล้ว…(ข้อสุดท้าย)
.
แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด..เราต้องคิด ต้องประเมินก่อนว่า มาตรการ 4 ข้อที่เหลือได้นำมาใช้แล้วหรือยัง ทำอย่างอื่นนอกเหนือจากใส่ PPE ได้หรือไม่
.
.

กลับไปตอบคำถามเมื่อตอนต้นที่ว่า..
ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนงานปลอดภัย
ทำอย่างไรจะควบคุมอันตรายและความเสี่ยงได้

ท่านผู้อ่าน คงพอจะมองเห็นได้ว่า “ความปลอดภัยในการทำงาน” ที่มีเพียงแค่ สวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ (PPE) ..ไม่เพียงพอแน่นอน

#เรียนรู้และปลอดภัยไปด้วยกันครับ
ขอบคุณครับ


บทความโดย – โอ พิพัฒพล
ผู้ชำนาญการความปลอดภัย

ขอบคุณข้อมูล
Hierarchy of Controls)  canadian centre for occupational health and safety
https://www.ccohs.ca/products/posters/hazardcontrol/
Effective Workplace Safety and Health Management Systems; OSHA Fact Sheet 2008.
ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องจักร (Machine Safety Strategy) (ตอนจบ)
ศิริพร วันฟั่น
http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/articles_preview.php?cid=14764