ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

———————–

.

โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กําหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาที่ทํางาน เพื่อลดระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแล้วไม่เกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 3 การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการลดเสียงของผู้ผลิตอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

(1) การคํานวณโดยใช้ค่าNoise Reduction Rating (NRR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์กับค่าตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน โดยใช้สูตรคํานวณ ดังนี้

Protected dBA = Sound Level dBC – NRRadj  หรือ

Protected dBA = Sound Level dBA – [NRRadj – 7]

Protected dBA          หมายถึง       ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในสเกลเอ (Scale A) หรือเดซิเบลเอ

Sound Level dBC     หมายถึง      ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมงในสเกลซี(Scale C) หรือเดซิเบลซี

Sound Level dBA     หมายถึง      ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมง ในสเกลเอ (Scale A) หรือเดซิเบลเอ

NRRadj                     หมายถึง      ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลากหรืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลโดยกําหนดให้มีการปรับค่าตามลักษณะและชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังนี้

(ก) กรณีเป็นที่ครอบหูลดเสียง ให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 25 ของค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์

(ข) กรณีเป็นปลั๊กลดเสียงชนิดโฟม ให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 50 ของค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์

(ค) กรณีเป็นปลั๊กลดเสียงชนิดอื่นให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 70 ของค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์

(2) การคํานวณโดยใช้ค่า Single Number Rating (SNR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์กับค่าตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน โดยใช้สูตรคํานวณดังนี้

L’AX = (LC – SNRx) + 4

L’AX           หมายถึง            ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ในสเกลเอ (Scale A) หรือเดซิเบลเอ

LC              หมายถึง            ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะการทํางาน 8 ชั่วโมงในสเกลซี (Scale C) หรือเดซิเบลซี

SNRx          หมายถึง            ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลาก/ผลิตภัณฑ์ของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(3) การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนอกเหนือจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4456 (พ.ศ. 2555) ออกตามความพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อแนะนําในการเลือก การใช้การดูแล และการบํารุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เล่ม 1 อุปกรณ์การปกป้องการได้ยินข้อ 4 หลักเกณฑ์การเลือกอุปกรณ์ปกป้องการได้ยินลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้อ 4 การดําเนินการตามข้อ 3 กรณีที่ฉลากหรืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลมีการระบุค่าการลดเสียงมากกว่า 1 ค่าให้นายจ้างใช้ค่าที่ลดเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้จากการคํานวณน้อยที่สุดเป็นหลักในการพิจารณาลดระดับความดังเสียงจากสภาพแวดล้อมในการทํางาน

.

ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

อนันต์ชัย อทุัยพัฒนาชีพ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

.

เล่ม 135 ตอนพิเศษ 33 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 กุมภาพันธ์ 2561


โหลดไฟล์

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล