ทำไมสถิติการเสียชีวิตบนท้องถนนของคนไทยสูงติดอันดับโลก

ทำไมสถิติการเสียชีวิตบนท้องถนนของคนไทยสูงติดอันดับโลก..
……………………………………………………
 
ชาวต่างชาติร่ำลือกันว่า ช่วง “7 วันอันตราย” คือช่วงปีใหม่ กับ สงกรานต์ มันคือช่วง “Death season”
ความหมายมันชัดเจนในตัวอยู่แล้ว..
  
ทบทวนข้อมูลกันสักนิด…
จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
ช่วง 7 วันอันตรายของปีใหม่ 2562 ที่ผ่านมา (27 ธ.ค. 61 – 2 ม.ค. 62) มีผู้เสียชีวิต 463 ราย (ปีใหม่ 2561 = 423 ราย)
   
  
ส่วนใหญ่ เรามักจะโฟกัสกันเฉพาะช่วงเทศกาล แต่จริงๆ แล้ว จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในบ้านเรานั้น ค่อนข้างสูงทุกวันอยู่แล้ว..
   
……………………. 
รายงานจากองค์การอนามัยโลก WHO Global status report on road safety 2018 ระบุว่า road accident ในประเทศไทย สูงที่สุดในอาเซียน เฉลี่ยมีผู้เสียชีวิต 62 คน/วัน ซึ่งในอาเซียนด้วยกัน อันดับ 2 คือ เวียดนาม และ อันดับ 3 มาเลเซีย ตามลำดับ..
   
และนี่คือ..สถิติจาก WHO ปี 2018 (ข้อมูล 175 ประเทศ)
1. Liberia – 35.9 (อัตราการตาย ต่อ 100,000 ประชากร) 
2. Saint Lucia – 35.4 
3. Burundi และ Zimbabwe – 34.7 
5. Dominican Republic – 34.6
6. Democratic Republic of Congo และ Venezuela – 33.7 
8. Central African Republic – 33.6 
9. Thailand – 32.7 ############
10. Guinea-Bissau – 31.1
  
(37. Viet Nam – 26.4)
(52. Malaysia – 23.6)
(169. Singapore – 2.8)
ประเทศไทย..อยู่ในอันดับ 9 ของโลก 
และยังติดอันดับ Top 10 ต่อเนื่องหลายปี
แต่เมื่อดูจากชื่อประเทศแล้ว 
อันดับต้นๆ เกือบทั้งหมด อยู่ในทวีปแอฟริกา
……………………..
Lack of Enforcement 
หลายคนโฟกันตรงกันว่า..#การบังคับใช้กฎหมาย เป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะตัวเลขของผู้เสียชีวิตในช่วงปีใหม่ 41.5% เกิดจากการเมาแล้วขับ (Drink Drive) และอีก 28% มาจากการขับรถเร็ว (Speeding) 
รวมกันแล้วคือ เกือบ 80% ของสาเหตุทั้งหมด..(ถ้าแก้ได้..สถิติลดลงแน่นอน)
  
สอดคล้องกับคำกล่าวของ นายนิกร จำนงค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และประธานมูลนิธิประชาปลอดภัย ที่เคยให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่า ปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนอีกอย่างหนึ่งของไทย คือ การบังคับใช้กฎหมาย
“ปัญหาหลักเรื่องนี้ของไทยเรา มี 2 ด้าน ทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายใช่ช่องโหว่ของกฎหมายทำทุจริตหรือแสวงหาประโยชน์ และผู้ใช้รถใช้ถนน ก็ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเช่นกัน” นายนิกรกล่าว
“เราจำเป็นต้องเปลี่ยน DNA ของประเทศ และสัญชาติญาณในการปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะเรามีกฎหมายที่ดี ๆ มากมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ดี”
.
.
สถิติย้อนหลังนี้สะท้อนให้เห็นภาพรวมของประเทศ ซึ่งน่าจะพอช่วยให้ทุกท่านได้ย้ำเตือน และช่วยกันรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ร่วมกันปฏิบัติตามกฎหมายให้มากขึ้น
  
เทศกาลสงกรานต์ ในอาทิตย์หน้านี้..
ขอให้ทุกคนเดินทางด้วยความปลอดภัย
ด้วยความปรารถนาดี
#safetyhubs
#ศูนย์กระจายความปลอดภัย
#RoadAccitdent
#RoadSafety
#Songkranfestival
—————————
อ้างอิง