สรุปเอกสาร 25 + 2 ที่ต้องมี


กฎกระทรวง

มาตรฐานความปลอดภัยฯ ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

เกริ่น..สำเนาเอกสารด้านความปลอดภัยต่างๆ พนักงานตรวจความปลอดภัย มีอำนาจขอดูได้ ตามมาตรา 35 ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัยฯ 2554

(5) สอบถามข้อเท็จจริง หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ ภายในขอบเขตอํานาจและเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง รวมทั้งตรวจสอบหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะมาตรการป้องกันอันตรายต่ออธิบดีโดยเร็ว

สรุปสำเนาเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องมี ในกฎกระทรวงฉบับนี้

25 + 2

ข้อ 8 ต้องมีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ทั้งการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน หรือการเคลื่อนย้าย เครื่องจักร รถยก ลิฟต์ เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

ถ้าไม่มี ให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และ

ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่ลูกจ้างอ่านรู้เรื่อง+ทำตามได้)

ข้อ 9 เครื่องจักร ตาม (1) – (7) ต้องจัดให้มีการตรวจสอบประจำปี + ต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(1) เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและงานขนย้าย ได้แก่ รถยก ระบบสายพานลำเลียง

(2) เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินและงานถนน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ รถตัก เครื่องจักรกลสำหรับงานขุด รถบด รถขูดอุ้มดิน (scraper) รถเกรด (grader) รถปูแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic concrete paver) รถพ่นยาง (bitumen distributor หรือ sprayer)

(3) เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ได้แก่ เครื่องผสมคอนกรีต (concrete mixer) เครื่องสั่นคอนกรีต (concrete vibrator) เครื่องปั๊มคอนกรีต (concrete pumping machine) เครื่องยิงคอนกรีต (shotcrete machine) เครื่องพ่นปูนทราย (mortar sprayer) รถคอนกรีตผสมเสร็จ (transit – mixer truck)

(4) เครื่องจักรที่ใช้ในงานฐานราก ได้แก่ เครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานเจาะเสาเข็มและกำแพงพืด เครื่องอัดน้ำปูน (cement grouting machine) เครื่องทำเสาเข็มดินผสมซีเมนต์ (soil cement column machine)

(5) เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุด งานเจาะ หรืองานขุดเจาะอุโมงค์ ได้แก่ เครื่องอัดลม (air compressor) เครื่องเจาะหิน (drilling rock machine) เครื่องเจาะอุโมงค์ (tunnel boring machine) เครื่องดันท่อ (pipe jacking machine) แบ็กโฮ (backhoe) แดร็กไลน์ (dragline) รถตักหน้า – ขุดหลัง (front – end loader)

(6) เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลาย ได้แก่ เครื่องสกัด (jack hammer) คอนกรีตเบรกเกอร์ (concrete breaker) เครื่องตัดทำลายโครงสร้าง (demolition shears)

(7) เครื่องจักรอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

เครื่องปั๊มโลหะ

ข้อ 24 ถ้ามีการดัดแปลง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของเครื่องปั๊มโลหะหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องปั๊มโลหะ(Guarding) ต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองความปลอดภัย + ต้องมีสำเนาเอกสารการรับรองไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

รถยก
ข้อ 34 ในการทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(3) ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง + ต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ลิฟต์

ข้อ 43 ลิฟต์โดยสาร ต้อง

(2) ต้องจัดให้มีการตรวจสอบความพร้อมของลิฟต์ทุกวัน หากส่วนใดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน + ต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 45 ต้องจัดให้มีการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของลิฟต์หลังจากติดตั้ง และเมื่อมีการใช้งาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (Load test)

ปิดประกาศผลการทดสอบในห้องลิฟต์ให้เห็นได้ชัดเจน อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดประกอบด้วยวัน เดือน ปีที่มีการทดสอบ วัน เดือน ปีที่การรับรองหมดอายุ และรายชื่อผู้ทดสอบไว้ + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 46 ต้องตรวจสอบระบบความปลอดภัยและระบบการทำงานของลิฟต์ทุกเดือน (Functional test) + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

เครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง

ข้อ 49 ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง ต้อง

(3) ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มีสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง + ต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 54 ในการใช้งานเครื่องจักรสำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงแบบแขวน ต้อง

(1) จัดให้มีการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายหลังการติดตั้ง + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

รอก

ข้อ 55 ในการใช้รอกโยก รอกมือสาว รอกหางปลา รอกไฟฟ้าหรือรอกที่ใช้พลังงานอื่น หรือรอกชนิดอื่นที่มีการใช้งานลักษณะเดียวกัน ต้อง

(2) จัดให้มีการตรวจสอบความพร้อมของรอกทุกวัน หากส่วนใดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน + ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(8) รอกที่มีขนาดพิกัดน้ำหนักยกตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป ต้องทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของรอกเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ปั้นจั่น

ข้อ 56 ต้องมีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ทั้งการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอนปั้นจั่นหรืออุปกรณ์อื่นของปั้นจั่น

ถ้าไม่มี ให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และ

ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่ลูกจ้างอ่านรู้เรื่อง+ทำตามได้)

ข้อ 57 ต้องจัดให้มีการทดสอบการติดตั้งปั้นจั่นเมื่อติดตั้งเสร็จ ตามรายละเอียดในข้อ 56 + ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(ปั้นจั่นไม่ได้ใช้งาน 6 เดือนขึ้นไป ก่อนนำปั้นจั่นมาใช้งานใหม่ ก็ต้องทำด้วย)

ข้อ 58 ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามประเภทและลักษณะของงาน ตามรายละเอียดข้อ 56 + ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 63 ถ้าต้องดัดแปลงหรือแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของปั้นจั่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่มีผลต่อการรับน้ำหนัก ต้องมีการคำนวณทางวิศวกรรมพร้อมกับจัดให้มีการทดสอบ + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

รถปั้นจั่นและเรือปั้นจั่น

ข้อ 82 ในการติดตั้งปั้นจั่นบนรถ เรือ แพ โป๊ะ หรือยานพาหนะลอยน้ำอย่างอื่น ต้อง

(1) ยึดปั้นจั่นไว้กับรถ เรือ แพ โป๊ะ หรือยานพาหนะลอยน้ำอย่างอื่นให้มั่นคง โดยมีวิศวกรควบคุมการดำเนินการจนแล้วเสร็จ + ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 84 ต้องจัดให้มีการจัดทำแผนการยก และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามแผนการยก ถ้าทำงานตาม (1) – (6)

(1) การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปในการยกวัสดุสิ่งของ

(2) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 75 ของพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามตารางการยกสิ่งของที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 56

(3) การทำงานของปั้นจั่นใกล้สายไฟฟ้าที่มีระยะน้อยกว่าระยะที่กำหนดในข้อ 68

(4) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของจุดศูนย์ถ่วงของวัสดุสิ่งของที่ทำการยก

(5) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรง

(6) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 ตันขึ้นไป

ข้อ 85 แผนการยกตามข้อ 84 ต้องจัดทำโดยผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่นซึ่งผ่านการอบรมตามข้อ 72 โดยต้องทำเป็นหนังสือและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด (1) – (8)

(1) ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น

(2) ตารางการยกวัสดุสิ่งของ

(3) รายละเอียดของปั้นจั่น ได้แก่ รัศมีการยกและความยาวของแขนปั้นจั่นที่ใช้ยกขณะทำการยกวัสดุสิ่งของ

(4) รายละเอียดของอุปกรณ์ประกอบการยกและลักษณะการยึดเกาะวัสดุสิ่งของ

(5) ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสิ่งของที่ทำการยก เช่น ขนาด น้ำหนัก ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง โดยระบุอัตราส่วนของน้ำหนักที่ยกต่อความสามารถในการยก

(6) ความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นที่รองรับปั้นจั่น

(7) ขนาดพื้นที่ของแผ่นรองขารับน้ำหนักของปั้นจั่น

(8) ขั้นตอนการยกที่กำหนดมาตรการความปลอดภัยและวิธีการป้องกันอันตราย

ต้องปิดประกาศแผนการยกไว้ในบริเวณที่ทำงานให้เห็นได้ชัดเจน + ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

อุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับปั้นจั่น

ข้อ 91 ในการยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุสิ่งของ โดยมีมุมองศาระหว่างอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงกับวัสดุที่จะทำการยก ไม่น้อยกว่า 45 องศา

กรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการผูก มัด หรือยึดโยงด้วยมุมองศาที่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ต้องกำหนดให้มีการคำนวณแรงรับน้ำหนักของอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยโดยผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น + ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน และภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

ข้อ 97 ต้องมีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ทั้งการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับความดัน

ถ้าไม่มี ให้วิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และ

ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่ลูกจ้างอ่านรู้เรื่อง+ทำตามได้)

ข้อ 105 ถ้าต้องไม่ซ่อมแซม หรือดัดแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับความดัน ที่อาจมีผลกระทบต่อความแข็งแรงหรือความปลอดภัย ต้องให้วิศวกรทำหน้าที่ออกแบบ ควบคุมและติดตั้ง พร้อมจัดให้มีการทดสอบ + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

หม้อน้ำ

ข้อ 107 นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมการติดตั้งหม้อน้ำ พร้อมทั้งจัดให้มีการทดสอบการใช้งานได้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 109 ต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด + แจ้งผลการทดสอบดังกล่าวต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่มีการทดสอบ

หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน

ข้อ 110 นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมการติดตั้งหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน + จัดให้มีการทดสอบการใช้งานได้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 111 ต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด+ แจ้งผลการทดสอบดังกล่าวต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่มีการทดสอบ

ภาชนะรับความดัน

ข้อ 113 นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมการติดตั้งภาชนะรับความดันที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสคาสขึ้นไป + จัดให้มีการทดสอบการใช้งานได้ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 114 ต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดันที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสคาสขึ้นไป ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดตามข้อ 97 + ต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 115 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดันที่มีปริมาตรน้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร หรือมีความดันน้อยกว่า 500 กิโลปาสคาส โดยการตรวจพินิจด้วยสายตาและการวัดความหนาโดยวิศวกรอย่างน้อย 5 ปีต่อครั้ง + ต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้