OSHA Top 10 Violations for 2019


Fall Protection ติดอันดับ 1 มาตลอดและต่อเนื่องแล้วถึง 9 ปี

Patrick Kapust กล่าวในงาน NSC Safety Congress & Expo 2019

เดือนกันยายนที่ผ่านมา นาย Patrick Kapust ตำแหน่ง Deputy Director ของ OSHA ได้เปิดเผยตัวเลขสถิติ Top 10 ของการกระทำฝ่าฝืนความปลอดภัยในปีงบประมาณ 2019 (ข้อมูลสิ้นเดือนกันยายน) ในงาน National Safety Congress & Expo 2019 ที่ซานดิเอโก้

Patrick Kapust, Deputy Director – OSHA

ข้อมูล Top 10 อันดับการฝ่าฝืน มีดังนี้..

1. Fall Protection: General Requirements (1926.501) จำนวน 7,014 (ปี 2018 : อันดับ 1)

2. Hazard Communication (1910.1200) จำนวน 4,170 (ปี 2018 : อันดับ 2)

3. Scaffolding (1926.451) จำนวน 3,228 (ปี 2018 : อันดับ 3)

4. Lockout/Tagout (1910.147) จำนวน 2,975 (ปี 2018 : อันดับ 5)

5. Respiratory Protection (1910.134) จำนวน 2,826 (ปี 2018 : อันดับ 4)

6. Ladders (1926.1053) จำนวน 2,766 (ปี 2018 : อันดับ 6)

7. Powered Industrial Trucks (1910.178) จำนวน 2,347 (ปี 2018 : อันดับ 7)

8. Fall Protection: Training Requirements (1926.503) จำนวน 2,059 (ปี 2018 : อันดับ 8)

9. Machine Guarding (1910.212) จำนวน 1,987 (ปี 2018 : อันดับ 9)

10. Personal Protective Equipment: Life saving Equipment and Eye and Face Protection (1926.102) จำนวน 1,630 (ปี 2018 : อันดับ 10)

Patrick Kapust ได้กล่าวเสริมว่า..ประเด็นเรื่อง Fall Protection นั้นติดอันดับ 1 มาต่อเนื่องแล้วถึง 9 ปี และหัวข้อ Top 10 ยังเป็นเรื่องเดียวกับปี 2018 ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย (สลับเพียงอันดับ 4 กับ 5) ซึ่งการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนทั้งหมดดังกล่าว ก็สามารถตรวจพบได้ทั่วไปมาหลายปีแล้ว หากนายจ้างไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร ปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ก็สามารถติดต่อ/สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา

ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็จะมีให้ดูบ้างในรายงานสถิติการประสบอันตราย ของกองทุนเงินทดแทน หรือ ของสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่เป็นข้อมูลจากรายงาน ของ จป. แต่ละบริษัทที่ส่งไปให้ทุกไตรมาส

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่า แหล่งข้อมูลสถิติแบบนี้จากหน่วยงานภาครัฐที่ดูแล จะมีสถิติแยกเป็นเรื่อง ๆ หรือเป็นรายมาตราของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ชัดเจนแบบนี้หรือไม่ (ยังไม่นับรวมการดำเนินคดี / การออกหนังสือแจ้งเตือนให้แก้ไข เป็นต้น)

ซึ่งหากมีข้อมูลแบบนี้ สามารถนำมาวิเคราะห์ หรือเผยแพร่ต่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง นักศึกษา นักวิชาการต่าง ๆ หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ได้นำไปใช้ประโยชน์ในงานความปลอดภัยของประเทศในภาพรวมได้เป็นอย่างดี

หวังว่าจะเป็นประโยชน์
ขอบคุณและสวัสดีครับ


อ้างอิง และเครดิตภาพ
safetyandhealthmagazine.com