ทำงานก่อสร้างอย่างปลอดภัย Safety in construction

ทำงานก่อสร้างอย่างปลอดภัย
Safety in construction
เรียนรู้อดีต เพื่อความปลอดภัยในปัจจุบัน และ อนาคต
(2 mins read)
—————————————————————-

Safety training ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง มีความจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อบริษัทและคุณภาพชีวิตคนงาน
เมื่อเราปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Health and Safety ในงานก่อสร้างแล้ว, อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจะลดลงแน่นอน
.
.
..หลายคนคิดแบบนี้?
.

ถูกต้อง แต่..
จะจัดแต่ training อย่างเดียว ไม่พอแน่นอน..
เพราะอะไร..ไปอ่านกัน
……………………………

จากสถิติอุบัติเหตุในงานก่อสร้างทั่วๆ ไปของสหรัฐอเมริกา มี 4 เรื่องที่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ดังนี้

– ตกจากที่สูง
– ไฟฟ้าช้อต
– วัสดุพังทลาย
– ยานพาหนะเฉี่ยวชน

ปัจจัยเหล่านี้ หากทุกบริษัทได้หยิบยกมา เพื่อประเมิน ปรับปรุงการทำงาน และ สื่อสารให้กับคนงานทราบ (อย่างสม่ำเสมอ) ว่าสิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่จะเป็นอันตรายที่สุดสำหรับพวกเขา คนงานจะเข้าใจและให้ความสนใจมากขึ้น

ในสหรัฐอเมริกา จากปี 1999 – 2004 หรือเมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้ว มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 9.1% จาก 1,131 มาเป็น 1,234 ราย

ตัวเลขนี้เป็นการตอกย้ำความจำเป็นในการกระตุ้นงานด้านความปลอดภัย และการฝึกอบรมที่เหมาะสมทั่วประเทศ
.
จนปัจจุบันนี้แนวโน้มก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง
.
.

วันนี้อยากขอพูดถึง 2 ประเด็น คือ ตกจากที่สูง และ ไฟฟ้า

1. ตกจากที่สูง
งานก่อสร้างทั่วไปของสหรัฐอเมริกา ในปี 1999 มีคนเสียชีวิต 362 คนในระหว่างทำงาน

จากการวิเคราะห์อุบัติเหตุสรุปได้ว่า..
สถานที่ก่อสร้างจำนวนมาก ไม่มีการปิดกั้นช่องเปิด ที่คนสามารถตกลงไปและเสียชีวิตได้ หรือในกรณีที่มีความเสี่ยงในการตก ก็ไม่มีผนัง กำแพงด้านใดด้านหนึ่งหรือทุกด้านของอาคาร เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติ Best practice
สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมี guardrails ทุกด้านที่คนงานสามารถตกลงไปได้ (โดยไม่ตั้งใจ)
หรือ เมื่อทำงานในอาคารสูงและมีงานติดตั้ง หรืออยู่บนหลังคา ทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกัน คือ ติดตั้งตาข่ายนิรภัยใต้หลังคา เป็นต้น

สำหรับคนงานที่ทำงานบนตึก หรืออาคารที่สูง อุปกรณ์ PPE ที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่ต้องมีก็คือ Fall arrest sysyem ซึ่งจะช่วยดูดซับแรงจากการตกแบบอิสระ (Free fall) ได้มากถึง 1,800 ปอนด์

วิธีการอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานได้ ได้แก่ :
– ประเมินความเสี่ยงในสถานที่ก่อสร้างใหม่ก่อนเริ่มงาน และปิดกั้นหลุม หรือ ช่องเปิดทั้งหมดที่มีอยู่
– ปิดหลุม/ช่องเปิด ที่ได้ขุด หรือ ทำขึ้นมาใหม่ ไม่ให้คน หรือ วัสดุ อุปกรณ์ ตกลงไปได้
– วางแผนจัดการความเสี่ยงเรื่องการตกให้เป็นระบบ ต้้งแต่การปิดหลุม/รั้วกั้น/ตาข่ายนิรภัย/หรือระบบกันตก เข้าด้วยกัน

 

2. ไฟฟ้า

สรุป 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า ประกอบด้วย:
– การทำงานใกล้กับสายไฟฟ้า
– ขาดระบบสายดิน
– ต่อสายดินไม่ถูกต้องหรือหลุด
– อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน
– ใช้สายไฟไม่ได้มาตรฐาน/ไม่เหมาะสม

แนวทางปฏิบัติ Best practice
– ทุกครั้งเมื่อเริ่มต้นโปรเจคงานใหม่ หรือ ทำงานเดิมต่อเนื่อง มีข้อที่ต้องระวังมากมายให้เราติดตามตรวจสอบ เช่น สำรวจไซต์งานทุกครั้ง, ตรวจดูแนวสายไฟเหนือศีรษะ และห้ามเข้าใกล้เกิน 10 เมตร
– มีระบบตัดแยกพลังงาน/ทำป้ายสัญญาณ/ป้ายเตือนที่ชัดเจนเมื่อทำงานใกล้สายไฟอุปกรณ์ไฟฟ้า
– ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดมีการต่อสายดิน
– ตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำ

……………

 

บทส่งท้าย
ทั้งหมดนั่นคือ..สรุปข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีต..ที่ต่างประเทศ เราเฝ้ามอง ดูเขาทำ และนำมาเป็นบทเรียนได้เป็นอย่างดีครับ

#############
ป้องกันทุกทางตามหลักจัดการและควบคุมความเสี่ยง
แล้วค่อย training ให้เหมาะกับงาน และต่อเนื่อง
#############

เรียนรู้ และนำมาวางแผนป้องกัน
เพื่อให้เราทำงานได้อย่างปลอดภัย ทุกคน ทุกพื้นที่การทำงาน ทุกวัน

.
.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์
ขอบคุณครับ
โอ พิพัฒพล 16/4/2652